วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2554

ครูประจำชั้นศูนย์สาธิตการศึกษาปฐมวัย

คณะกรรมการบริหารศูนย์สาธิตการศึกษาปฐมวัย

ตารางกิจกรรมประจำวัน

ตารางกิจกรรมประจำวัน

                07.30-08.45  น.                   รับเด็ก  เล่นอิสระ
                08.45-09.00  น.                   เข้าแถวเคารพธงชาติ
                09.00-09.10  น.                   เชิญเทียน  สวดมนต์  ทำสมาธิ
                09.10-09.30  น.                   กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
                09.30-09.50  น.                   กิจกรรมเสริมประสบการณ์              
                09.50-10.00  น.                   ดื่มนม
                10.00-10. 30  น.                  กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
                10.30-10. 30  น.                  กิจกรรมเสรี  (เล่นตามมุม)
                11.00-11.30  น.                   กิจกรรมกลางแจ้ง
                11.30-12.00  น.                   รับประทานอาหาร  ล้างหน้า  แปรงฟัน
                12.00-14.00  น.                   นอนพักผ่อน
                14.00-14.30  น.                   อาหารว่างบ่าย
                14.30-15.00  น.                   กิจกรรมเกมการศึกษา/เล่านิทาน/สรุปบทเรียน
                15.00-16.00  น.                   กลับบ้าน

หลักการจัดการศึกษาปฐมวัย

หลักการจัดการศึกษาปฐมวัย

                ในเรื่องการเตรียมความพร้อมนี้ในแง่ของเหตุผลหรือทางตรรกวิทยา  การที่มนุษย์จะประกอบกิจกรรมอะไรก็ตาม  การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนที่จะเริ่มกิจกรรมนั้น    นับว่าเป็นการเตรียมตัวสำคัญที่จะทำให้งานนั้น    เป็นผลสำเร็จด้วยดี  ดังคำโบราณที่ว่า  การเตรียมตัวที่ดีนับว่าประสบความสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง  ดังนี้เพื่อให้เด็กมีความพร้อมที่จะเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา  เด็กจำเป็นจะต้องได้รับการพัฒนาสุขภาพของร่างกาย  พัฒนาการใช้กล้ามเนื้อเล็ก  กล้ามเนื้อใหญ่  พัฒนาสติปัญญา  อารมณ์จิตใจ สังคม  และภาษาในโรงเรียนอนุบาล  ชั้นเด็กเล็กหรือในศูนย์พัฒนาเด็กอย่างน้องหนึ่งปี  (Smith,  2004)  ตามข้อคิดเห็นอันนี้  เด็กจะต้องเตรียมความพร้อมอย่างน้อยหนึ่งปี  ดังนั้นก่อนที่จะเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษา  เด็กควรจะได้มีการเตรียมความพร้อมให้มีการพัฒนาด้านต่าง   

หลักการและจัดการศึกษาระดับอนุบาลศึกษา
                ขอบข่ายของหลักการจัดการศึกษาระดับอนุบาลในประเทศไทย  มีดังนี้  (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ,  2546)
                1.  ยึดปรัชญาการศึกษาระดับปฐมวัยเป็นหลัก
                                ปรัชญาการศึกษาระดับปฐมวัยคือ  การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุห้าปี  (หมายถึง  5  ปี  11  เดือน  29  วัน)  บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดู  และการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติ  และพัฒนาการของเด็กแต่ละคน  ตามศักยภาพภาย  ใต้บริบทสังคม  วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ด้วยความรัก  ความเอื้ออาทร  และความเข้าใจของทุกคน  เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม
                2.  เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการพัฒนาเด็ก  โดยองค์รวม  คือ  เด็กได้รับการพัฒนาทุกด้านทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์  จิตใจ  สังคม  และสติปัญญา  โดยผ่านกิจกรรมการเล่น  และโดยอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์เดิมที่เด็กมีอยู่  ประสบการณ์ใหม่  ที่เด็กจะได้รับต้องมีความหมายกับตัวเด็ก  เป็นหลักสูตร    ที่ให้โอกาสทั้งเด็กปกติ  เด็กด้อยโอกาสและเด็กพิเศษได้พัฒนา  รวมทั้งยอมรับในวัฒนธรรมและภาษาความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก    การพัฒนาเด็กให้รู้สึกเป็นสุขในปัจจุบัน  มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนต่าง    และเพื่อเตรียมเด็กสำหรับอนาคตข้างหน้า
                3.  การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก  ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนจะต้องจัดสภาพแวดล้อมให้เด็กอยู่ในที่ที่สะอาด  ปลอดภัย  อากาศสดชื่นผ่อนคลาย  ไม่เครียด  มีโอกาสออกกำลังกายและพักผ่อน  มีสื่ออุปกรณ์  มีของเล่นที่หลากหลาย  เหมาะสมกับวัย  ให้เด็กมีโอกาสเลือกเล่น  เรียนรู้เกี่ยวกับตนเองและโลกที่เด็กอยู่  รวมทั้งพัฒนาการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมทำให้บุคคลในสังคมเห็นความสำคัญของการอบรมเลี้ยงดู  และให้การศึกษากับเด็กปฐมวัย
                4.  การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน  และการเรียนรู้ของเด็ก  การจัดกิจกรรมให้เน้นความสำคัญที่เด็ก  (Child  Centered  Approach)  กิจกรรมจะต้องเหมาะสมกับวัย  และสอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการของเด็ก  ควรจัดกิจกรรมที่จะให้โอกาสแก่เด็ก  ได้พัฒนาความสามารถของตน  ครูผู้สอนเปลี่ยนบทบาทจากการสั่งให้เด็กทำ  มาเป็นผู้อำนวยความสะดวก  ครูผู้สอนจะเป็นผู้สนับสนุนชี้แนะและเรียนรู้ร่วมกับเด็ก  ส่วนเด็กเป็นผู้ลงมือกระทำ  เรียนรู้  และค้นพบด้วยตนเอง  ดังนั้นครูผู้สอนจะต้องยอมรับเห็นคุณค่า รู้จักและเข้าใจเด็กแต่ละคน  ที่ตนดูแลรับผิดชอบก่อน  โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล   เพื่อจะได้วางแผนสร้างสภาพแวดล้อม  และจัดกิจกรรมต่าง    ให้เหมาะสมกับวัยและความแตกต่างของเด็ก  โดยถือว่าการเล่นอย่างมีจุดหมายเป็นหัวใจสำคัญของการจัดประสบการณ์และกิจกรรมให้แก่เด็ก
                5.  การบูรณาการการเรียนรู้  การบูรณาการ  เป็นการจัดกิจกรรมที่กิจกรรมหนึ่ง    เด็กเรียนรู้ได้หลายทักษะและหลายประสบการณ์สำคัญ  หรือหนึ่งแนวคิดเด็กเรียนรู้ได้หลายกิจกรรม  จึงเป็นหน้าที่ของผู้สอนที่จะต้องวางแผนการจัดประสบการณ์  ในแต่ละวัน  ให้เด็กเรียนรู้โดยผ่านการเล่นที่หลากหลายกิจกรรม  หลากหลายทักษะ  หลากหลายประสบการณ์สำคัญ  อย่างเหมาะสมกับวัยและพัฒนาการ  เพื่อให้บรรลุจุดหมายของหลักสูตรที่กำหนดไว้
                6.  การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก  การประเมินในระดับปฐมวัยยึดวิธีการสังเกตเป็นส่วนใหญ่  ครูผู้สอนจะต้องสังเกต  และประเมินทั้งการสอนของตน  และพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กว่า  ได้บรรลุจุดประสงค์  และเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่  รวมทั้งข้อมูลจากครอบครัวของเด็ก  และตลอดจนผลงานของเด็ก  จะบอกถึงการเรียนรู้ของเด็กว่ามีความก้าวหน้าเพียงใด  มีพัฒนาการด้านต่าง    อย่างไร  การประเมินพัฒนาการจะช่วยครูผู้สอนในการวางแผนจัดกิจกรรม  ชี้ให้เห็นความต้องการพิเศษของเด็กแต่ละคน  ใช้เป็นข้อมูลในการสื่อสารกับพ่อแม่หรือผู้ปกครองของเด็ก  และยังใช้ในการประเมินประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กดังกล่าว  เมื่อพบเด็กที่มีพัฒนาล่าช้า  ครูควรจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับความสามารถของเด็กนั้น    และให้ความรัก  ความเอาใจใส่  และให้คำชมเชยเมื่อเด็กพัฒนาดีขึ้น
                7.  ความสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนกับครอบครัวของเด็ก  ครูผู้สอน  พ่อแม่และผู้ปกครองของเด็ก  จะต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทำความเข้าใจพัฒนาการ  และการเรียนรู้ของเด็ก  ต้องยอมรับและร่วมมือกันรับผิดชอบ  ถือเป็นหุ้นส่วน  ที่จะต้องช่วยกันพัฒนาเด็ก  ให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการร่วมกันซึ่งจะต้องให้พ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กด้วย
                8.  การเรียนการสอนที่เหมาะสมสำหรับเด็กอนุบาล  ควรยึดเด็กเป็นศูนย์กลางสำคัญของการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความสนใจ  และความสามารถของเด็ก  ให้เด็กมีโอกาสเลือกกิจกรรมด้วยตนเอง  เรียนโดยใช้ประสบการณ์ตรงและทดลองโดยที่เด็กเป็นผู้สังเกต  และให้คำแนะนำ  (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ,  2541)

ประวัติศูนย์สาธิตการศึกษาปฐมวัย

ประวัติศูนย์สาธิตการศึกษาปฐมวัย

                ศูนย์เด็กเข้าวัยเรียนเริ่มดำเนินการปีการศึกษา  2522  รับเด็กอายุ  3  ปี  ซึ่งเป็นบุตรหลานของอาจารย์และบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม  รวมทั้งบุคคลภายนอก  จำนวน  1  ห้อง  นักเรียน  30  คน  ดำเนินการโดยภาควิชาการอนุบาลศึกษา  ซึ่งมีอาจารย์นารี  ศิริทรัพย์  เป็นผู้ดำเนินงานและในปีการศึกษา  2523  ได้รับนักเรียนเพิ่มเป็น  2  ห้องเรียน  และได้จัดกิจกรรมแบบศูนย์การเรียน  โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก  รศ.ลัดดา  นีละมณี  ซึ่งขณะนั้นเป็นนักศึกษานิเทศก์ของกรรมการฝึกหัดครูมาช่วยดำเนินการวางแผนการจัดกิจกรรมแบบศูนย์การเรียน  และในปีการศึกษา  2527  ได้ปรับชั้นเรียนเป็น
ชั้นอนุบาลปีที่  1  และอนุบาลชั้นปีที่  2  ขยายจำนวนห้องเรียนเป็น  4  ห้อง
                ปัจจุบันศูนย์เด็กก่อนวัยเรียนได้เปลี่ยนชื่อเป็น  ศูนย์สาธิตการศึกษาปฐมวัยสังกัดโปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย  คณะครุศาสตร์  จัดการศึกษาสำหรับเด็กอายุ 2-4 ปี และจัดชั้นเรียนโดยพิจารณาจากอายุ ความพร้อม  และจำนวนเด็กในแต่ละชั้นเรียนประกอบกัน

วัตถุประสงค์
            1. ด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย
                                1.1  ให้เด็กเป็นผู้มีความสามารถช่วยเหลือตนเองและกิจกวัตรประจำวันด้วยตนเองได้
                1.2  ฝึกให้เด็กเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่นและผู้ที่เกี่ยวข้อง
                1.3  สร้างเสริมและปลูกฝังให้เด็กเป็นผู้มีลักษณะนิสัย  และสุขนิสัยที่ดี
                1.4  ส่งเสริมและพัฒนาให้เด็กเป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์
                1.5  เตรียมความพร้อมด้านต่าง    ให้แก่เด็กได้แก่  ด้านร่างกาย  ด้านอารมณ์จิตใจ 
       ด้านสังคม  และด้านสติปัญญา  ให้มีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย
2.  ด้านการส่งเสริม  สนับสนุนการจัดการศึกษาโปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
                2.1  เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวิชาการและแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา
                      โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
                2.2  เพื่อเป็นแหล่งวิจัย/ทดลอง  นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัยของอาจารย์และนักศึกษา
                      โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
3.  ด้านบริการวิชาการแก่ชุมชนและท้องถิ่น
                3.1  เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ด้านการศึกษาปฐมวัยแก่ชุมชน/ท้องถิ่น
                3.2  เป็นตัวอย่างและผู้นำชุมชนด้านวิจัยและพัฒนาเด็กปฐมวัย


นโยบาย
            1.  ศูนย์สาธิตการศึกษาปฐมวัยพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ
                2.  พัฒนาให้เด็กมีจิตสำนึกในความเป็นคนไทย
                3.  พัฒนาศูนย์สาธิตการศึกษาปฐมวัยให้เป็นแหล่งวิชาการแก่ท้องถิ่น

พันธกิจ
                1.  ด้านการจัดการศึกษา :  จัดการศึกษาระดับปฐมวัยเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการโดยองค์รวมตาม                               ศักยภาพเพื่อ นำไปสู่การช่วยเหลือตน    ฝึกฝนคุณธรรม  พร้อมนำทางปัญญา
2.       ด้านการวิจัย  :  ส่งเสริมการวิจัยที่ช่วยพัฒนาการศึกษาปฐมวัย
3.       ด้านการบริการทางวิชาการ
3.1  เป็นห้องปฏิบัติการทางวิชาการแก่อาจารย์และนักศึกษาโปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
       คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
3.2    เป็นแหล่งการบริการทางวิชาการแก่นักศึกษา  บุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัด
การศึกษาปฐมวัย
3.3    เป็นต้นแบบในการจัดการศึกษาปฐมวัยแก่ชุมชน
3.4    เป็นแหล่งวิจัยการพัฒนาเด็กปฐมวัยแก่อาจารย์โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
 ด้านศาสนาศิลปวัฒนธรรม  :  ปลูกฝัง  ทำนุบำรุงและส่งเสริม  ศาสนา  ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นและประเทศชาติ

งานรื่นเริงบันเทิงใจ สานสายใยวันปิดเทอม








งานกีฬาสี